บันทึกธรรมะศึกษา
ผู้หลุดพ้นมี 2 ประเภท ฌานลาภีบุคคล และ สุขวิปัสสก
บางรูปก็ปลีกวิเวกไม่ออกมาอีก เพราะดำริตนได้ตรากตรำมากพอสมควรและได้เกื้อกูลมาแล้ว ส่วนท่านที่ออกมาเกื้อกูลชาวโลกเพราะอยากอนุเคราะห์ในสัตว์โลก
วิธีปฏิบัติต่อ อนุสัยในเวทนา 3 คือ ละราคานุสัยในสุขเวทนา ละปฏิฆานุสัยในทุกขเวทนา และละอวิชชานุสัยในสุขเวทนาและทุกขเวทนา ผู้ใดละได้ย่อมเป็นผู้ไม่มีอนุสัย
เวทนาของปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ย่อมเศร้าโศก ร่ำไรรำพัน ย่อมเสวยเวทนา 2 อย่างคือ กายและใจ ผู้ได้เรียนรู้ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไรรำพัน เพราะมิได้เสวยทุกข์ทางใจ เป็นเพียงทางกายอย่างเดียว
ผู้แสวงหา สุขทางกาย หรือทุกข์ทางกามกันแน่ ผู้มิได้สดับมิได้เรียนรู้ย่อมขัดเคืองเมื่อทุกเวทนานั้น ปฏิฆานุสัย และย่อมเป็นเงาติดตามเมื่อเสวยผลแห่งทุกข์ ย่อมแสวงหาสุขมาด้วยความเพลิดเพลินเพราะไม่รู้ในอุบายกำจัดทุกขเวทนาออกจากกามสุข
วิธีทำใจให้สงบเมื่อเจ็บหนัก มีสติในพระธรรมวินัย พิจารณากายในกายอยู่เนืองนิจ มีความเพียรมีสติกำจัดอภิชฌา โทมนัส พิจารณาในเวทนา เห็นเวทนาอยู่เนืองนิจ คือ เจริญสติปัฏฐาน รู้ในการถอยกลับเป็นไปในอิริยาบถ มีจิตเด็ดเดี่ยวมั่นคง เมื่อรู้กายแตกดับหลังเสียชีวิต เวทนาที่ไม่น่าเพลิดเพลินทั้งปวงในโลกนี้ย่อมดับสนิทไปด้วย เปรียบเหมือนไฟและน้ำมัน อาศัยไส้จึงลุกโชน เมื่อสิ้นไส้สิ้นน้ำมันจึงมอดดับสนิทสิ้นเชื้อ
เวทนา 2 ก็มี 3 ก็มี 5-6-18-36 และ 108 ก็มี ผู้เห็นเวทนาชัดย่อมมีแต่เมตตา
มนุษย์ต่อไปนี้นับวันจะสร้างสรรวัตถุเพื่อให้ชีวิตอยู่ดีกินดีเสพสร้องให้ตนเอง สร้างสิ่งเสพบริโภคให้บำรุงบำเรอ แต่พุทธศาสตร์สร้างภายในภายนอกเพื่อพัฒนาให้จิตใจดีงาม
ผู้โกรธนั่นแหละจะถูกฆ่าด้วยความโกรธเอง ผู้ถูกโกรธไม่เคยถูกฆ่าเพราะความโกรธนั่นเลย
มีทรัพย์ขาดปัญญาไม่ถือว่ามีชีวิตอยู่
พิจารณาจิตในจิต จิตนั่นเองคือหน้าตาแท้จริง มิใช่รูปขันธ์เลย ภาชนะแห่งจิต ยากนักที่จะถกถอน มิน่าอาลัยเลย
ความริษยาและความตระหนี่ย่อมเป็นเครื่องผูกมัด
ความริษยาและความตระหนี่เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รักและสิ่งอันไม่เป็นที่รัก
สิ่งเป็นที่รักและไม่เป็นที่รักเกิดจากอะไร เกิดจากความพอใจ
ความพอใจเกิดจากอะไร เกิดจากความคิด (วิตก) ตรึก
ความคิดความตรึกคือเหตุ อารมณ์และการกระทำย่อมเป็นผล
ความตรึกเกิดจากสัญญา สังขานิทานคือส่วนกำหนดหมายกิเลส ตัณหาความทะยานอยาก มานะความถือตัว ทิฏฐิความเห็น เป็นเหตุ
คนเราไม่มีจุดหมายทางเดียวกันเพราะในโลกนี้มีธาตุเป็นเอนก มีธาตุต่างกัน สัตว์โลกยึดถือธาตุใดธาตุนั้นย่อมว่าจริง นอกนั้นโมฆะทันที
ตัณหาทำให้หวั่นไหว เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร แสบร้อน ย่อมฉุดคร่าบุคคลให้เกิดในภพ สูงบ้างต่ำบ้าง
การตั้งสติ
กายในกาย (กายส่วนย่อยในกายใหญ่)
เวทนาในเวทนา (ความรู้สึกส่วนย่อยในส่วนใหญ่)
จิตในจิต (ดวงใดดวงหนึ่ง)
ธรรมในธรรม (ธรรมส่วนย่อยในส่วนใหญ่)
กาย แบ่ง 6 ส่วน
1) ลม
2) อิริยาบถ 4
3) อิริยาบทย่อย 4
4) ความน่าเกลียดของกาย
5) ธาตุ
6) นวสีวถิกา (ซากศพ 9)
เวทนา 9 ส่วน
1) สุข
2) ทุกข์
3) ไม่สุขไม่ทุกข์
4) สุขประกอบอามิส (มีเหยื่อล่อ)
5) สุขไม่ประกอบอามิส
6) ทุกข์ประกอบอามิส
7) ทุกข์ปราศจากอามิส
8) ไม่ทุกข์ไม่สุขประกอบอามิส
9) ไม่ทุกข์ไม่สุขไม่มีอามิส
จิต 16 ส่วน
1) จิตมีราคะ 2) จิตปราศจากราคะ 3) จิตมีโทสะ 4) จิตไม่มีโทสะ 5) จิตมีโมหะ 6) จิตไม่มีโมหะ 7) จิตหดหู่ 8) จิตฟุ้งซ่าน 9) จิตใหญ่ (ในฌาน) 10) จิตไม่ใหญ่ (ไม่ถึงฌาน) 11) จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า 12) จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า 13) จิตตั้งมั่น 14) จิตไม่ตั้งมั่น 15) จิตหลุดพ้น 16) จิตไม่หลุดพ้น
ธรรม 5 ส่วน
1) ธรรมที่กั้นจิตมีนิวรณ์ครอบ 5
2) ขันธ์ 5
3) อายตนะภายใน
4) องค์แห่งการตรัสรู้
5) อริยสัจ 4
(อัคคัญญะ) โลกหมุนเวียนไปเปลี่ยนไป พรหมวิมานว่าง ผู้ไปอุบัติที่นั่นก่อนใครเลยนึกว่าตนเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ไปภายหลังเลยเข้าใจว่า มหาพรหมสร้าง เมื่อผู้ออกบวชบำเพ็ญฌานระลึกได้ เลยเอาคำนี้มากล่าวว่าพรหมสร้างโลก เลยมาบัญญัติเป็นคำสอนกับพวกขิฑฑาปริทสิกะ (ผู้เสียหายเพราะการเล่น)
กรรม 16 เกิดขึ้น 3 ทาง (กาย วาจา ใจ) เป็นความตั้งใจในเจตนาคือกรรม
กรรมมี 4 และ 4 หมวด (16)
การกระทำให้เกิดกรรม สัตว์ทั้งหลายอาศัยธรรมชาตินั้นแหละให้เกิดกรรม
จงเป็นผู้อาจหาญ ร่าเริง เด็ดเดี่ยว คือผู้ปฏิบัติธรรม
คนเราอยู่ได้ด้วยสมุฏฐาน 4 คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร
อาหาร 4 คือ กวฬิงการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาหาร
เลื่อมใสในคำสอน มิใช่เลื่อมใสในเสนาสนะหรือวัตถุและบุคคล
ธรรมะที่ประกอบจิต คือ เวทนา สัญญา สังขาร
รูป-นิพพาน (วิปยุต) เวทนา สัญญา สังขาร เป็น สัมปยุต
กิเลสที่ประกอบสัตว์ไว้ในภพมี 4
1) กาม 2) ภพ 3) ทิฏฐิ 4) อวิชชา
สิ่งที่กระทำไปแล้วหรือยังไม่กระทำ เมื่อมีเจตนาขึ้นมา แม้ดับเจตนาแล้วก็กลายเป็น นานักขนิกกัม ย่อมติดอยู่ในสันดานสัตว์ ถ้าจะส่งผลให้ปรากฏต้องอาศัย กาล จิต อุปธิ และปโยคะ เป็นเครื่องประกอบสัตว์
ชอบใจหรือไม่ชอบใจป่วยการทั้งสิ้น
เกลียดชังก็เดือดร้อน รักก็เดือดร้อน เสียเวลา
อย่าอยู่กับคนที่เรารักใคร่ชอบพอ และอย่าอยู่กับคนที่เราชังหรือเกลียด เพราะจะไม่เกิดทั้งโทสะและโทรมนัส เพราะเป็นการเบียดเบียนตนเอง
ปรารถนาหญิงเป็นเครื่องเล่นแห่งกามเท่ากับปรารถนานรกนั่นเทียว
ปรารถนาชายให้ซื่อสัตย์เท่ากับปรารถนาให้สุนัขได้รู้ค่าพลอย
ศรัทธาใครแล้วอย่าเข้าใกล้ เพราะเมื่อเห็นความพร่องของเขาแล้ว เราจะไม่ชอบ
กายคตาสติ
หมายถึง พิจารณาโดยความปฏิกูลในอาการ 32 และ
1) อนุโลม ปฏิโลม
2) กำหนดสี
3) กำหนดสัณฐาน
4) กำหนดทิศ ตั้งแต่สะดือขึ้นไปหรือลงมา
5) โอกาสกำหนดอวัยวะอยู่ตรงไหน
6) ปริเฉทมี 2
1 สภาคปริเฉท กำหนดว่าส่วนนี้คือผม กำหนดเบื้องต่ำ เบื้องบน
2 วิสภาคปริเฉท กำหนดผมไม่ใช่ขน และขนไม่ใช่ผม
7) เรียนด้วยใจ กำหนดให้คล่องบริกรรมอยู่อย่างเดียว
สติเป็นโสภณจิต และสติมิใช่เรา
หยั่งสู่โอฆะ -> คนเป็นทุกข์เพราะอดีตและอนาคต
โลภมูลจิตทิฏฐิสัมปยุต โลภมูลจิตวิตกสัมปยุต
เราอยู่อย่างผีดิบ ไม่ยอมตาย เพราะจิตมันเกิดอยู่เรื่อย เพราะอินทรีย์มันอ่อน
กิเลสเป็นผีสิงในตัว และกิเลสมันอ้างเหตุ อ้างผล จนเรายอมมัน และมันแข่งกัน ทะเลาะกัน และมันดีกัน
วันไหนกิเลสหนา ท้ออ่อนเพลีย เหนื่อยเพราะกิเลสหนา งานจิตมันเลยหนัก เพราะจิตมันเป็นกรรมกร
เสียงกระตุ้นดัง กิเลสมันเริ่มวิ่งวุ่น ทะยานไปตามเสียงกลองเสียงกระตุ้น เลยจำใจ จำจอง จำทน จำกลืน
ตัณหาคือผีร้าย มันเป็นผีสิง ดังนั้นเราต้องสะกดผีตัวนี้ซะ อย่าปลุกมัน ผีร้ายในตัวเรามันกลัวอาวุธคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อภาวนาไตรลักษณ์ครั้งใด เราเจ็บปวดเสมอ เพราะมันกำลังไล่ผีร้ายออกจากตัว เมื่อขับผีร้ายเสร็จแล้ว เราคงไม่เกิดเป็น หมู หมา กา ไก่ จิ้งจก ตุ๊กแก
วิชชา 3
1) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติก่อนๆ ได้
2) จุตูปปาตญาณ รู้ในการอุบัติของสัตว์
3) อาสวักขยญาณ ทำลายอาสวะให้สิ้น
วิชชา 8
1) วิปัสสนาญาณ ญาณที่นับเข้าไปในวิปัสสนา
2) มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ
3) อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
4) ทิพยโสต หูทิพย์
5) เจโตปริยญาณ รู้วาระจิตของผู้อื่น
6) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติก่อนๆ ได้
7) ทิพยจักขุ ตาทิพย์
8) อาสวักขยญาณ ทำลายอาสวะให้สิ้น
หมายเหตุ เมื่อตัดข้อ 1 และ 2 ออก เรียกว่าวิชชา 6
วิชชา 8 นี้ รวมวิชชา 6 และวิชชา 3 ไว้ด้วยกัน
จารณะ 11
1) สีลสังวร สำรวมในศีล
2) อินทรีย์สังวร สำรวมในอินทรีย์
3) โภชเนมัตตัญญุตา ประมาณในการบริโภค
4) ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรไม่เห็นแก่การหลับนอน
5) สัทธา ความเชื่อ
6) หิริ ความละอาย
7) โอตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป
8) พาหุสัจจะ เป็นผู้คงแก่เรียน
9) วิริยะ ความเพียร
10) สติ ความรอบคอบระมัดระวัง
11) ปัญญา ความรอบรู้
หมายเหตุ 2-4 เรียกว่า อปัณณกปฏิปทา และ 5-11 เรียกว่า สัทธรรม 7
มหาวิปัสสนา 18
1) เมื่อเห็น อนิจจัง ย่อมละ นิจจสัญญา ความสำคัญหมายมั่นว่าเที่ยง
2) เมื่อเห็น ทุกข์ ย่อมละสุขสัญญา
3) เมื่อเห็น อนัตตา ย่อมละอัตตา
4) เมื่อเจริญ นิพพิทา ย่อมเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิ ความเพลิดเพลิน
5) เมื่อเจริญ วิราคานุปัสสนา ย่อมละราคะ ความกำหนัด
6) เมื่อเจริญ นิโรธานุปัสสนา ย่อมละสมุทัย
7) เมื่อเจริญ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา (การสละคืน) ย่อมละความอาทานะ ถือมั่น
8) เมื่อเจริญ ขยานุปัสสนา (ความสิ้น) ย่อมละฆนสัญญา ความสำคัญเป็นแท่งเนื้อ
9) เมื่อเจริญ วยานุปัสสนา (ความเสื่อม) ย่อมละอายูหนะ ความพอกพูนขึ้น
10) เมื่อเจริญ วิปริณามานุปัสสนา (ความเปลี่ยนแปลง) ย่อมละสัญญา ความมั่นหมายว่ายั่งยืน
11) เมื่อเจริญ อนิมิตตานุปัสสนา (ความไม่มีเครื่องหมาย) ย่อมละนิมิต ความมีเครื่องหมาย
12) เมื่อเจริญ อัปปณิหิตา (ไม่มีที่ตั้ง) ย่อมละปณิธิ ความเห็นว่ามีที่ตั้ง
13) เมื่อเจริญ สุญญตานุปัสสนา (ความว่าง) ย่อมละอภินิเวส ความยึดมั่น ถือมั่น
14) เมื่อเจริญ อธิปัญญา ธัมมวิปัสสนา (ปัญญาอันยิ่ง) ย่อมละสาลาทานะภินิเวสะ ไม่มีแก่นสาร
15) เมื่อเจริญ ยถาภูตญาณทัสสนะ (เห็นความจริง) ย่อมละสัมโมหะภินิเวสะ ความถือมั่นในความหลง
16) เมื่อเจริญ อาทีนวานุปัสสนา (เห็นโทษ) ย่อมละอาลยภิเวสะ ความยึดมั่นเพราะอาลัย
17) เมื่อเจริญ ปฏิสังขานุปัสสนา ย่อมละอัปปฏิสังขา ความไม่เข้าใจ
18) เมื่อเจริญ วิวัฏฏานุปัสสนา (ปราศจากวัฏฏะ) ย่อมละสังโยชน์ สังโยคาภินิเวสะ ความยึดมั่นในกิเลส เครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ
วิปัสสนูกิเลส 10 ประการ
1) โอภาส - แสงต่างๆ มักเป็นอุปสรรค เพราะอารมณ์ของสมถะเป็นเรื่องของสมาธิ
2) ปีติ - ในปีติ 5
3) ปัสสัทธิ - ความสงบ ระงับ ไม่รับรู้อารมณ์อื่น นอกจากดิ่งสู่อารมณ์นามรูปคล้ายตัวเองเป็นอณูปรมาณู
4) อธิโมก - ศรัทธาแรงกล้า มิจิตอยากทำแต่บุญสร้างแต่กุศล ผู้เป็นครูจึงต้องปราม
5) ปัคคหะ - เพียร รุดหนัก มิรู้เบื่อ ในสมาธิ เพราะเห็นในการเกิดดับ
6) ญาณ - ความรู้ใหม่ๆ ปัญญามาก อยากพูด อยากแสดงธรรม ฟุ้งไปในอารมณ์ ไม่วางเฉยในตน
7) สุข - ติดในการปฏิบัติ พอใจใคร่จะอยู่แต่ในอารมณ์กัมมัฏฐาน กลายเป็นโลภะในที่สุด
8) อุปัฏฐานะ - ความปรากฏแห่งสีต่างๆ ความระลึกในชีวิตหนหลัง หมกมุ่นกับสิ่งที่ผ่านมาปัญญาเลยไม่เกิด
9) อุเบกขา - วางในอารมณ์ทั้งปวง งานทางใจเลยไม่ก้าวหน้า
10) นิกันติ - พอใจ เป็นความอยากที่ละเอียดอ่อนปราณีต เป็นตัณหาหลงอยู่ในความพอใจ
วิปัสสนา 9
1) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ เห็นความเสื่อมแห่งรูป
2) ภังคนุปัสสนาญาณ เห็นความดับไปแห่งรูป
3) ภยตุปัฏฐานญาณ เห็นความปรากฏขึ้นแก่สังขารโดยว่าเป็นของน่ากลัว
4) อาทีนวานุปัสสนาญาณ เห็นโทษของสังขาร
5) นิพพิทาญาณ เห็นสังขารเป็นของน่าเบื่อ
6) มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณอันเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นจากสังขาร
7) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณพิจารณาหาทาง
8) สังขารุเปกขาญาณ ญาณวางเฉยในสังขาร ดุจบุรุษวางเฉยในภรรยา
9) สัจจานุโลมิกญาณ ญาณอนุโลมในอริยสัจ